![]() |
|||
หน้าแรก · Smart Devices · คลิปวีดีโอ · สร้างรูปติดบัตรออนไลน์ · ใส่วันที่ในรูปถ่าย · นโยบายการให้บริการ | |||
จะนำรูปไปพิมพ์ ควรย่อขยายไฟล์ที่ความละเอียดเท่าไหร่ดี?
นี่เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตในยุคของกล้องดิจิตอล สำหรับช่างภาพมือใหม่ (และอาจจะรวมถึงมือเก่าบางคนด้วย) ที่มักจะสงสัยว่า เมื่อต้องการจะนำภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลไปอัดออกมาเป็นรูป หรือจะพิมพ์ลงกระดาษ สักใบ ควรจะใช้ความละเอียดที่เท่าไหร่ดี?
บางคนก็จะบอกว่า ก็ใช้ความละเอียดสูงสุดเท่าที่กล้องมี บางคนก็อาจจะแนะนำที่ความละเอียดที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งไม่ว่าใครจะแนะนำความละเอียดที่เท่าใดก็ตามแต่ ผมเชื่อว่าโดยส่วนใหญ่ก็น่าจะมีความละเอียดมากพอสำหรับการพิมพ์ภาพลงบนกระดาษได้ดีอยู่ในระดับนึง แต่ในบทความนี้ ผมจะมาแจกแจงเพิ่มเติมให้ฟังอีกนิดหน่อย เพื่อเสริมความเข้าใจในการเลือกความละเอียดสำหรับงานพิมพ์ภาพ (ทั้งการอัดรูปจากร้านที่ให้บริการ และการพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ทั่วไป) เริ่มต้นตั้งแต่การบันทึกภาพ ในการบันทึกภาพตั้งแต่แรกนั้น ผมขอแนะนำว่าควรตั้งค่าความละเอียดที่กล้องจะบันทึกได้ ไว้ที่ความละเอียดสูงสุดเสมอ ในกรณีที่จะตั้งค่าความละเอียดที่ต่ำกว่าด้วยความตั้งใจ ควรจะเป็นในกรณีที่
ถ้านอกเหนือจากนี้ ผมคิดว่ายังไงก็ควรตั้งค่าความละเอียดไว้ที่สูงสุดของกล้องไว้ก่อน ดีที่สุดครับ ทีนี้มาถึงขั้นตอนการเตรียมไฟล์เพื่อนำไปพิมพ์ (อัดรูป) โดยปกติส่วนใหญ่ เมื่อเวลามีคำถามแบบนี้เกิดขึ้น ผู้ที่มาให้คำแนะนำส่วนใหญ่จะแนะนำว่า ให้ใช้หลักการคำนวน ความกว้างคูณ 300 และ ความยาว คูณ 300 = ความละเอียดที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น หากต้องการพิมพ์ภาพขนาด 4x6 นิ้ว (ในร้านถ่ายรูปจะเรียกขนาดนี้ว่า 4R ถ้า 5x7 นิ้ว ก็เรียกว่า 5R เป็นต้น) เมื่อใช้สูตรข้างต้น ก็คือ 4x300 และ 6x300 จะเท่ากับ 1200 และ 1800 pixels เมื่อคิดเป็นจำนวนพิกเซลรวม (Pixels) ก็จะเท่ากับ 1200x1800 = 2,160,000 Pixels (สองล้านหนึ่งแสนหกหมื่นพิกเซล) เป็นต้น จากสูตรการคำนวนข้างต้นนั้น ถามว่าใช้ได้ไหม คำตอบของผมคือ "ใช้ได้ครับ" แต่จากสูตรข้างต้นนี้เป็นเพียงการเตรียมไฟล์ก่อนพิมพ์ โดยใช้สูตรคำนวนการคูณที่ 300 เท่านั้น แต่ในกระบวนการพิมพ์จริงๆนั้น คุณรู้หรือไม่ว่า เครื่องอัดรูปตามร้านถ่ายรูป สามารถแสดงความละเอียดเพื่อฉายแสงลงบนกระดาษได้กี่พิกเซล ตรงส่วนนี้แหล่ะครับที่เป็นกระบวนการสำคัญที่เกี่ยวกับคุณภาพของรูปที่ได้ออกมาด้วย (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ แสง, สี, ความคมชัด) ลองคิดกันดูเล่นๆครับว่า สมมุติว่าคุณใช้ไฟล์ที่มีความละเอียด 2 ล้านมาอัดรูปขนาด 4x6 นิ้ว แต่หัวที่ใช้ฉายแสงของเครื่องอัดรูปดิจิตอล มีความละเอียดอยู่ที่ 1024x768 (786,432 พิกเซล ซึ่งความละเอียดระดับนี้ ในวงการ IT ถือว่าเป็นความละเอียดระดับ 1 ล้านพิกเซล) เมื่อนำค่าความละเอียด 2,160,000 หักลบกับ 786,432 จะมีค่าเท่ากับ 1,373,568 นั่นหมายความว่า ความละเอียดในภาพจะหายไป 1,373,568 จุด (ลักษณะนี้ ก็คือการย่อพิกเซลลง) โอกาสที่ภาพของคุณจะมีการจัดเรียงตัวของพิกเซลใหม่ ก็จะมีมากตามไปด้วย เช่น บริเวณเส้นโค้ง หรือเส้นตรงแบบเฉียง จะมีโอกาสเห็นเป็นหยักๆนิดๆ ภาพจะไม่เนียน เพราะการเคลื่อนตัวของพิกเซลอาจทำให้แต่ละจุดทับกัน เหลื่อมกันได้ เริ่มมองเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับ ทีนี้คำถามก็คือว่า ในกรณีที่ต้องการภาพขนาด 4x6 นิ้ว แบบยังคงคุณภาพความคมชัดที่เหมือนดูในจอคอมพิวเตอร์ของเราจริงๆ ตอบแบบง่ายๆเลยก็คือ ใช้ความละเอียดเท่ากัน หรือมากกว่าความละเอียดของเครื่องอัดสักเล็กน้อย ก็ถือว่าเพียงพอแล้วครับ (หากใครที่เคยนำฟิล์มไปอัดกับเครื่องดิจิตอล แล้วทางร้านบันทึกไฟล์ลงแผ่นซีดีให้ด้วย จะเห็นว่าไฟล์ไม่ได้ใหญ่โต มโหฬารอะไรเลย แค่หลักร้อยเคเท่านั้น) และบางทีทางร้านอาจจะมีการย่อไฟล์รูปของคุณก่อนทำการพิมพ์ด้วยซ้ำ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สั่งพิมพ์ (เพราะบางคนเล่นถ่ายมาที่ 8-10 ล้านพิกเซล โดยไม่มีการย่อไฟล์ให้เหมาะสมสำหรับขนาดรูปที่ต้องการพิมพ์ เพราะเข้าใจว่าพิกเซลยิ่งเยอะ ภาพจะยิ่งชัด ความคิดนี้ยังไม่ถูกทั้งหมดนะครับ) จากข้อมูลข้างบนพอจะสรุปได้ดังนี้ครับ
เพราะฉะนั้นก่อนนำไฟล์รูปไปอัด หรือพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ใดๆ ขอให้คิดก่อนว่ารูปที่ต้องการพิมพ์ คือขนาดเท่าใด? และเครื่องพิมพ์มีความละเอียดสำหรับการพิมพ์ที่เท่าใด (ในกรณีหลังนี้ อาจยากหน่อย) แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมขอแบ่งความละเอียดของไฟล์รูป สำหรับการพิมพ์ ดังนี้
จากตารางข้างต้น เป็นค่าโดยประมาณนะครับ ไม่ใช่ตัวเลขที่ต้องเป๊ะๆทุกครั้ง ในบางครั้งภาพที่ถ่ายมา อาจจะไม่ได้ใหญ่โตเท่ากับค่าตัวเลขในตาราง ก็ยังสามารถพิมพ์ได้นะครับ โดยการใช้ซอฟแวร์ขยายด้วยการจำลองพิกเซลเสริมเข้าไปในไฟล์ภาพ (interpolated) ตามขนาดที่ต้องการพิมพ์ให้เหมาะสม (แม้จะเป็นเพียงพิกเซลจำลอง ที่ไม่ใช่พิกเซลที่มาจากการบันทึกภาพจริง ก็ยังทำให้ได้รูปที่ดูดีนะครับ อย่าไปคิดมาก 55555) นี่แหล่ะครับ เมื่อทำความเข้าใจกับเรื่องนี้สักหน่อย คุณก็จะสามารถมั่นใจได้ว่า ภาพที่คุณนำไปพิมพ์นั้น จะมีความคมชัด หรือคุณภาพโดยรวม ใช้ได้หรือไม่ จะได้ไม่ต้องพยายามหาไฟล์ใหญ่ๆไปพิมพ์เท่านั้น (เกินความจำเป็นไปป่าวๆ และอาจเกิดการเรียงตัวใหม่ของพิกเซล ที่อาจจะทำให้คุณภาพเปลี่ยนไปด้วย) ทางร้านที่ให้บริการก็จะได้ไม่ต้องมายุ่งกับการ ย่อขยาย ไฟล์ของเรา โดยไม่จำเป็นด้วยครับ |
หน้าแรก · Smart Devices · คลิปวีดีโอ · สร้างรูปติดบัตรออนไลน์ · ใส่วันที่ในรูปถ่าย · นโยบายการให้บริการ เนื้อหาสาระ · ห้องภาพมาโคร · สินค้า · ข้อมูลกล้อง · ข้อมูลเลนส์ · ข้อมูลเครื่องพิมพ์ · เปรียบเทียบสเป็ค แสงตกกระทบวัตถุ สะท้อนเข้านัยน์ตา ปรากฎเป็นภาพ และเก็บบันทึกไว้ (โดยฟิล์มหรือดิจิตอล)... |
||