![]() |
|||
หน้าแรก · Smart Devices · ภาพยนต์ · คลิปวีดีโอ · สร้างรูปติดบัตรออนไลน์ · ใส่วันที่ในรูปถ่าย · นโยบายการให้บริการ | |||
Xiaomi TV A Pro 65 นิ้ว สมาร์ททีวีจอใหญ่ราคาหมื่นกว่า
พลาดไม่ได้! Xiaomi TV A Pro 65" จอ 4K คมชัด สีสดสมจริง ดีไซน์ไร้ขอบหรูหรา เสียงกระหึ่มรอบทิศทาง ฟังก์ชันอัจฉริยะครบครัน สั่งงานด้วยเสียง Google Assistant เชื่อมต่อง่าย ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์จุใจ ในราคาที่คุณต้องว้าว! คุ้มค่าเกินราคา รีบเป็นเจ้าของก่อนใคร!
เมื่อแสงไม่พอ ก็ให้แสง (แฟลช) เข้าไป (เทคนิคการใช้แฟลช)
ยุคของกล้องดิจิตอลได้พัฒนาก้าวหน้ามาอย่างมากมาย เมื่อเทียบกับยุคกล้องฟิล์มสมัยก่อน ระบบการถ่ายภาพสมัยนี้ มีทั้งกล้องที่มีลูกเล่นแพรวพราว และมีโปรแกรม (Software) เป็นตัวช่วยได้อีกหลากหลาย ซึ่งด้วยความล้ำสมัยดังกล่าวนี้ จึงมักจะมีการถกเถียงเกี่ยวกับการเลือกซื้อกล้องใหม่ๆ กันว่า "รุ่นนี้ดีกว่า ความละเอียดมากกว่า", "รุ่นนี้มีกันสั่น", "รุ่นนี้น้อยส์เนียนกว่า (Noise)", "รุ่นนี้ ISO สูงกว่า" และก็รุ่นโน้นรุ่นนี้ มีโน่นมีนี่ อะไรเป็นต้น
ซึ่งในบางทีผมก็อดคิดไม่ได้ว่า เจ้าเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเหล่านี้ มันทำให้นักถ่ายภาพ หรือคนเล่นกล้องสมัยนี้ เกิดความรู้สึกที่มักง่ายกันเกินไปหรือป่าว เพราะเมื่อมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอยู่ในมือ ก็มักจะใช้คุณสมบัติลูกเล่นของกล้อง มากกว่าใช้ฝีมือหรือใช้เบสิค (พื้นฐานความเข้าใจการถ่ายภาพ) มากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งในบทความนี้ ผมกำลังจะพูดถึงเรื่องการใช้แฟลชในการถ่ายภาพ และจะกล่าวถึงการใช้แฟลชระบบ Manual โดยเฉพาะ (แฟลช Manual / Auto หมายถึง แฟลชที่ให้กำลังแสงไฟแฟลชระดับเดียว ไม่มีระบบการควบคุมความแรงของแสงแฟลช) (ถ้าเป็นแฟลชระบบ TTL ก็คงไม่ต้องคิดมาก เพราะระบบของแฟลช TTL จะคำนวนค่าแสงให้อยู่แล้ว) ผมเชื่อว่านักถ่ายภาพหลายๆท่าน โดยเฉพาะมือใหม่ๆที่เพิ่งมาจับกล้อง DSLR ทั้งหลาย มักจะเน้นการมีกล้อง และเลนส์ครบช่วง มากกว่าการมีแฟลชไว้ใช้ในการถ่ายภาพเมื่อแสงไม่พอแน่ๆ จริงไหมครับ? ซึ่งโดยส่วนใหญ่นักถ่ายภาพมือใหม่ๆมักจะไม่ค่อยอยากใช้แฟลช เพราะมักจะกลัวเรื่องการควบคุมแสงแฟลชไม่ค่อยได้ และเมื่อใช้โหมดการถ่าย โหมด AV, โหมด P หรือโหมด Full auto ในการถ่าย (ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะ Disable auto pop-up flash เพราะไม่อยากให้เปลืองแบตฯของกล้อง) ระบบกล้องส่วนใหญ่จะทำการปรับ ISO (ความไวแสงของตัวบันทึกภาพ) หรือปรับความเร็วชัตเตอร์, รูรับแสง ให้เหมาะสมกับสภาพแสงในตอนนั้นแทน ซึ่งถ้าหากเราไม่ได้ต้องการเก็บบันทึกสภาพแสงตามนั้นจริง ภาพที่ได้ก็มักจะทึมๆ สีสรรไม่สดใสเท่าที่ควร รวมไปจนถึงบางทีอาจได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ไม่เหมาะสมกับการบันทึกภาพนั้นๆ ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นเมื่อแสงไม่พอ ควรใช้แฟลช (เพิ่มแสงเข้าไปในภาพที่บันทึก) มากกว่าไปเร่ง ISO แทนครับ ยกเว้นแต่กรณีที่เราต้องการเก็บบันทึกสภาพแสงจริง ในสถานที่นั้นไว้ (เช่น แสงไฟในอาคาร, งานคอนเสิร์ต หรือไฟทิวทัศน์ตอนกลางคืน) หรือในกรณีที่สถานที่ที่ถ่าย ไม่สามารถใช้แฟลชได้จริงๆ เท่านั้นครับ นอกนั้นเมื่อแสงไม่พอ ยังไงผมก็ยังอยากแนะนำให้ใช้แฟลชในการบันทึกภาพ เมื่อแสงไม่พออยู่ดี (จริงๆนะ ไม่ได้พูดเล่น) ทีนี้เราลองมาดูกันว่า กรณีที่ไม่ใช้แฟลช และใช้แฟลชแล้ว ภาพที่ได้จะเป็นอย่างไรกันบ้าง ภาพทั้งหมดถ่ายด้วย ISO 100 ด้วยเลนส์ 18-55mm IS (ซูมที่ 55mm) ใช้ขาตั้งกล้อง และสายลั่นชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์ และค่ารูรับแสง ปรับเปลี่ยนตามการให้แสงของแต่ละภาพนะครับ เริ่มกันที่ภาพแรกกันก่อน (ปล. พอดีผมไม่มีนางแบบ/นายแบบจริงๆ แต่อยากให้เห็นแสงเงาที่ได้จากการใช้แฟลชบนตัวแบบที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง จึงขอยืมพี่ตัวเขียว THE HULK มาเป็นนายแบบสำหรับบทความนี้นะครับ) ภาพแรก ไม่ใช้แฟลช ถ่ายด้วยโหมด AV (ควบคุมรูรับแสง หรือ Aperture ด้วยตัวเอง และกล้องจะเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมให้) ผลลัพท์ที่ได้ แสงสีที่ได้จะทึมๆ ไม่สดใส ซึ่งหากภาพนี้สว่างกว่านี้ ภาพจะดูสวยกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการถ่ายภาพในอาคาร แสงที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นแสงในอาคาร ไม่ใช่แสงแดดธรรมชาติแบบกลางแจ้ง และพื้นหลังเป็นสีขาว กล้องจะวัดแสงโดยรวมให้ออกมาพอดี (กล้องจะไม่รู้นะครับว่า ตัวแบบคือ THE HULK เพราะฉะนั้นกล้องจะวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ ยกเว้นนักถ่ายภาพเลือกโหมดวัดแสงเฉพาะจุด หรือ Spot เพื่อวัดแสงที่ตัวแบบอย่างเดียว) ซึ่งหากไม่ได้ปรับ ISO Auto หรือดัน ISO ขึ้นเพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสม รวมถึงทำการชดเชยแสงล่ะก้อ ส่วนใหญ่ผลลัพท์ที่ได้ จะไม่ค่อยสดใสนัก ควรชดเชยแสงให้มากขึ้น (Over exposure) หรือใช้แฟลชช่วยในการบันทึกภาพนี้ ความเร็วชัตเตอร์ 0.6, รูรับแสง F/5.6 (แสงเดิมๆในห้อง ไม่ใช้แฟลช วัดแสงตามปกติในโหมด AV) ภาพที่ 2. ถ่ายด้วยโหมด AV และใช้แฟลชหัวกล้อง (Pop-up flash) โดยปกติแฟลชหัวกล้องจะรองรับระบบ TTL (การปล่อยแสงแฟลชที่คำนวนตามระยะเลนส์ และตามระยะตัวแบบที่ถ่าย) เพราะฉะนั้นเมื่อใช้แฟลชหัวกล้อง ภาพที่ได้ส่วนใหญ่ก็จะได้แสงที่พอดี แต่ในขณะเดียวกันการใช้แฟลชหัวกล้องนี้ จะไม่สามารถกำหนดทิศทางของแสงแฟลชได้ (ต้องยิงตรงอย่างเดียว ทำให้ตัวแบบดูแบน ไม่ค่อยมีมิติ แสงที่ได้จะแข็งไม่ค่อยนุ่มนวล) และทำให้สิ้นเปลืองแบตฯของกล้องด้วย (สังเกตได้ว่า กล้องรุ่นโปรส่วนใหญ่จะไม่ทำแฟลชหัวกล้องมาให้ด้วย เพราะนักถ่ายภาพระดับมืออาชีพมักไม่นิยมใช้แฟลชหัวกล้อง ด้วยประการทั้งปวง ยกเว้นแต่กรณีที่จำเป็นจริงๆ หรือกับงานที่ไม่ได้เน้นความละเอียดปราณีตอะไร เท่านั้น) ความเร็วชัตเตอร์ 0.3, รูรับแสง F/5.6 ใช้แฟลชหัวกล้อง (Pop-up flash) วัดแสงตามปกติในโหมด AV ภาพที่ 3. ถ่ายด้วยโหมด M ใช้แฟลชแบบต่อภายนอกระบบ Manual เสียบที่ Hotshoe flash ซึ่งโดยส่วนใหญ่แฟลชแบบต่อภายนอกจะให้กำลังไฟที่แรงกว่าแฟลชจากหัวกล้อง ภาพนี้จึงได้สีสรรที่สมบูรณ์กว่า และภาพนี้เมื่อใช้โหมด M ในการถ่าย นั่นหมายความว่าเราต้องกำหนดความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสงเองทั้งหมด ตัวแบบห่างจากกล้องประมาณ 1 ฟุต จึงต้องใช้รูรับแสงแคบพอประมาณ ไม่งั้นแสงจะสว่างเกินไป (Over Exposure) และสังเกตได้ว่า เมื่อใช้รูรับแสงที่แคบมากๆ ความชัดของภาพ และระยะชัดลึกของตัวแบบที่เราถ่าย ก็จะชัดมากขึ้นไปด้วย (ลองดูเปรียบเทียบกับภาพข้างบนครับ) ความเร็วชัตเตอร์ 1/100, รูรับแสง F/18 ใช้แฟลชแบบต่อภายนอก (Manual flash) วัดแสงโดยกะจากสายตา (ตามประสบการณ์) ภาพที่ 4. ถ่ายด้วยโหมด M โดยใช้แฟลชแบบต่อภายนอกระบบ Manual เสียบที่ Hotshoe flash เช่นเดิม เหมือนภาพข้างบน แต่ใช้วิธีเงยหัวแฟลชขึ้น เพื่อให้สะท้อนกับเพดาน (Bounce flash) ซึ่งการเงยหัวแฟลชเพื่อให้แสงแฟลชสะท้อนจากเพดานข้างบน จะทำให้ได้แสงที่เป็นธรรมชาติ เหมือนกับไฟจากที่สูง ที่ส่องลงมาบนตัวแบบ แต่แทนที่จะมีแต่แสงจากที่สูงของในอาคาร ไฟแฟลชที่เป็นแสงขาว จะช่วยเพิ่มความสว่างให้กับตัวแบบได้อย่างเป็นธรรมชาติ และได้แสงที่นุ่มนวลด้วย แต่การใช้เทคนิคการตีไฟ หรือ Bounce flash นี้ เมื่อใช้แฟลชระบบ Manual นักถ่ายภาพควรต้องดูความสูงของเพดาน, สีของเพดาน และคำนวนการเปิดค่ารูรับแสงให้เหมาะสม (เปิดให้ Over ไว้ สัก 2 Stop) เพราะกำลังไฟที่สะท้อนจากเพดาน มันจะไม่แรงเท่ากับการยิงแสงแฟลชเข้าตรงๆกับตัวแบบนะครับ (แต่ถ้าใช้แฟลชระบบ TTL ระบบจะคำนวนกำลังไฟแฟลชให้เอง เพราะแฟลชระบบ TTL ส่วนใหญ่มันจะรู้ว่าเราได้เงยหัว หรือหันหัวแฟลชไปทางซ้ายหรือขวา ทำให้การปล่อยกำลังแสงส่วนใหญ่ยังออกมาพอดีกับการถ่ายภาพ) ความเร็วชัตเตอร์ 1/60, รูรับแสง F/5.6 ใช้แฟลชแบบต่อภายนอก (Manual flash) และเงยหัวแฟลชขึ้นเพื่อให้แสงสะท้อนเพดาน (Bounce flash) เมื่อใช้ค่ารูรับแสงกว้างขึ้นเพราะต้องเผื่อให้ได้แสงที่พอดี ก็ทำให้ชัดตื้นกว่า รูปข้างบนอย่างเห็นได้ชัด ภาพที่ 5. ถ่ายด้วยโหมด M โดยใช้แฟลชแบบต่อภายนอกระบบ Manual เสียบที่ Hotshoe flash เช่นเดิม แต่เงยหัวแฟลชและหันหัวแฟลชไปทางซ้ายเล็กน้อย (ซ้ายมือของช่างภาพ คือขวามือของตัวแบบ) เพื่อให้ได้แสงสะท้อนจากทางซ้ายมือสาดเข้าหาตัวแบบ จะทำให้ได้ภาพที่เป็นมิติมากขึ้น (แสงทางซ้าย จะสว่างกว่าทางขวาเล็กน้อย สังเกตจากใบหน้าของ THE HULK) ความเร็วชัตเตอร์ 1/60, รูรับแสง F/5.6 ใช้แฟลชแบบต่อภายนอก (Manual flash) และเงยหัวแฟลช หันไปทางซ้ายเล็กน้อย ภาพที่ 6. ถ่ายด้วยโหมด M โดยใช้แฟลชแบบต่อภายนอกระบบ Manual เสียบที่ Hotshoe flash เช่นเดิม แต่คราวนี้ใช้อุปกรณ์เสริม Softbox flash มาครอบที่หัวแฟลชด้วย และปรับเงยหัวแฟลชไว้ที่ระดับ 45 องศา แสงที่ยิงเข้าตัวแบบจะกึ่งสะท้อน กึ่งตรง เข้ามาที่ตัวแบบ ทำให้ได้แสงที่มาจากบนลงล่าง และทำให้ได้ภาพที่ดูเป็นมิติ และแสงแฟลชไม่แข็งจนเกินไป ความเร็วชัตเตอร์ 1/60, รูรับแสง F/5.6 ใช้แฟลชแบบต่อภายนอก (Manual flash) และปรับเงยหัวแฟลชไว้ที่ 45 องศา, ใช้ Softbox ครอบที่หัวแฟลช ภาพที่ 7. ถ่ายด้วยโหมด M โดยใช้แฟลชแบบต่อภายนอกระบบ Manual แต่ครั้งนี้ต่อด้วยสายแยกแฟลช เพื่อแยกแฟลชออกจากตัวกล้อง ถือแฟลชให้อยู่เหนือตัวแบบห่างจากตัวแบบประมาณ 1.5 ฟุต และหันให้ยิงตรงลงมาจากข้างบน โดยทะแยงจากทางซ้ายมือนิดๆ ภาพจะได้แสงที่แข็ง ไม่นุ่มนวล เนื่องจากเป็นแสงที่ไม่ได้สะท้อน หรือกรองด้วยอุปกรณ์ประเภท Softbox ใดๆ เมื่อประกอบกับท่าทางของตัวแบบ (Action) ก็จะยิ่งทำให้อารมณ์ของภาพดูน่าเกรงขาม ลึกลับมากยิ่งขึ้น ความเร็วชัตเตอร์ 1/125, รูรับแสง F/22 ใช้แฟลชแบบต่อภายนอก (Manual flash) แยกด้วยสายแยกแฟลช ถืออยู่เหนือตัวแบบ และส่องตรงลงมา (เฉียงจากทางซ้ายนิดๆ) ค่าเฉลี่ยในการใช้ความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสง เมื่อถ่ายภาพโดยใช้แฟลช Manual ค่าไกด์นัมเบอร์ประมาณ 25-30 (ความเร็วชัตเตอร์ 1/60-80 ที่ ISO 100) เทียบเคียงกับเลนส์ระยะ 50mm (บวกลบประมาณ 1 Stop)
เอาแค่พอเป็นกระสัยนะครับ ความจริงการจัดแสงในการถ่ายภาพมันมีอยู่มากมายหลายแบบ แต่เนื่องจากบทความนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้แฟลชระบบ Manual ในการถ่ายรูปเท่านั้น อุปกรณ์แฟลชแบบต่อภายนอก (ที่ไม่ใช่ไฟสตูดิโอ) ก็ไม่ค่อยมีความหลากหลายอะไรเท่ากับการจัดแสงในสตูดิโอจริงๆ ก็เอาเป็นว่า ขอให้นักถ่ายภาพคิดไว้เสมอว่า เมื่อแสงเริ่มไม่พอ หรือไม่พอ ควรเลือกใช้แฟลชมากกว่า การเร่ง ISO ขึ้นไป ยกเว้นแต่เพียงว่าคุณต้องการเก็บแสงสีจากบรรยากาศจริงเท่านั้น และอย่ากลัวเมื่อต้องใช้แฟลช (แฟลชจะให้แสงขาว เมื่อกระทบกับตัวแบบที่ถ่าย จะได้เป็นสีจริงของตัวแบบกลับมาเพื่อบันทึก) ฝึกใช้แฟลชให้ชำนาญ โดยควบคุมทิศทางของแสงแฟลช รวมถึงการปรับความเร็วชัตเตอร์ และค่า F ให้เหมาะสมกับระยะของตัวแบบ รับรองว่าภาพถ่ายโดยรวมของคุณจะดูสว่างสดใส ดูดีกว่าแบบไร้แสงแฟลชแน่นอนครับ หากนักถ่ายภาพท่านใดกำลังมองหาแฟลชไว้ใช้สักตัว สนใจแฟลชโหมด M ไฟแรงราคาประหยัด คลิ๊กที่นี่เลยครับ |
หน้าแรก · Smart Devices · ภาพยนต์ · คลิปวีดีโอ · สร้างรูปติดบัตรออนไลน์ · ใส่วันที่ในรูปถ่าย · นโยบายการให้บริการ เนื้อหาสาระ · ห้องภาพมาโคร · สินค้า · ข้อมูลกล้อง · ข้อมูลเลนส์ · ข้อมูลเครื่องพิมพ์ · เปรียบเทียบสเป็ค แสงตกกระทบวัตถุ สะท้อนเข้านัยน์ตา ปรากฎเป็นภาพ และเก็บบันทึกไว้ (โดยฟิล์มหรือดิจิตอล)...
|
||